วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์

ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ เป็นกรรมการผู้อำนวยการของสถาบันสหสวรรษ ซึ่งเป็นสถาบันวิชาการของภาคประชาชน ในอดีตเคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ช่วง พ.ศ. 2549-2551 กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ บมจ. ทีโอที (2550) และ บมจ. ผาแดงอินดัสทรี (2541-2543) อีกทั้งเคยร่วมก่อตั้งและเป็นกรรมการผู้จัดการคนแรกของ บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ทริส" (2536-2541) ก่อนหน้านั้นเคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายแผนงานธนาคารกรุงเทพ (2531-2535)นอกจากนั้น ยังเคยเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานระหว่างประเทศ ราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนหลายแห่ง เช่น ธนาคารโลก สภาผู้แทนราษฎร สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงาน ก.พ. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม จำกัด ทางด้านวิชาการ เคยเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษารัฐวิสาหกิจ สังกัดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลน่า (University of North Carolina) นอกจากการสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศแล้ว ดร.วุฒิพงษ์ ยังได้ผลิตบทความทางวิชาการมากมาย ทั้งในด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน การบริหารธุรกิจ และนโยบายสาธารณะดร.วุฒิพงษ์ ยังเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ “คู่มือทรราช” (2543) ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นหนังสือเสียดสีประชดประชันการเมืองที่ดีที่สุดเล่มหนึ่ง รวมถึงหนังสือธรรมะภาษาอังกฤษในแนวพุทธวิทยาศาสตร์อีกหลายเล่มชื่อ "Dharmodynamics" (2547) "Neodharma" (2555) "Dharmoscience" (2555) และ "Sankhara" (2557) ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งหนังสือภาษาอังกฤษสำหรับช่วยสอนวิธีการคิดด้วยภาพที่ชื่อว่า "Draw Your Thoughts" (2557)ทางด้านการศึกษา ดร.วุฒิพงษ์ สอบได้ที่หนึ่งของประเทศไทย แผนกวิทยาศาสตร์ ของปีการศึกษา 2512[ต้องการอ้างอิง] ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. 2513 และทุนร็อคกี้เฟลเลอร์ พ.ศ. 2520 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมโยธา จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสสาชูเสตต์ หรือ เอ็มไอที (Massachusetts Institute of Technology, MIT) ในปี พ.ศ. 2518 ปริญญาโทสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) ในปี พ.ศ. 2519 ปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ และปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์และบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) ในปี พ.ศ. 2522 และ 2527[ต้องการอ้างอิง]

วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์